วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย (The Lighthouse of Alexandria)




ตำแหน่งที่ตั้ง
เกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
ปัจจุบัน ไม่หลงเหลืออยู่แล้ว
รายละเอียด
กระโจมไฟฟาโรส หรือ ประภาคารฟาโรส อันยิ่งใหญ่นี้ พระเจ้าปโตเลมีฟิลาเดลฟัส กษัตริย์แห่งประเทศอียิปต์ เป็นผู้สร้างขึ้นด้วยหินอ่อนสลักลวดลายวิจิตรงดงาม อยู่บนเกาะฟาโรส ที่อ่าวหน้าเมืองอเล็กซานเดรีย ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล สร้างขึ้นเพื่อ เป็นสัญลักษณ์ที่สังเกตเห็นแก่หมู่เรือทั้งหลาย ที่ไปมาติดต่อค้าขาย
ในการเข้าไปยังเมืองท่า ซึ่งครั้งนั้นอียิปต์ เป็นประเทศที่เจริญในวิทยาการต่างๆ
ใครๆ ก็ชอบติดต่อเหตุนี้จึงต้องสร้างประภาคารขึ้นจุดตะเกียงแก๊สตลอดทั้งคืน
เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยเดินเรือใช้เป็นที่สังเกตจะได้ไม่หลงและนอกจากนั้นแล้ว
ยังใช้เป็นหอคอยไว้ดูข้าศึกที่จะมารุกรานอีกด้วยเพราะกระโจมนี้สูงถึง 180 เมตร
หลังจากเกิดแผ่นดินไหว อาคารนี้ก็พังทลายลงมาตั้งแต่ ค.ศ. 955
และถูกทำลายโดยสมบูรณ์ในช่วงศตวรรษที่ 14


เทวรูปเฮลิออสแห่งโรเดส (The Colossus of Rhodes)



เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ ของพระอาทิตย์ หรือ เฮลิออส หล่อด้วยทองบรอนซ์ ในท่ายืน
สูงประมาณ 32 เมตร โดยเฉพาะฐานที่รองรับ รูปหล่อนั้นสูงกว่า ตึก 5 ชั้น มือขวา
ถือดวงประทีป เชื่อว่าเป็นรูปปั้นที่ คอยกั้นอ่าวของเกาะแห่งนี้ของกรีก ในทะเลเอเจียน
สร้างเสร็จ หลังจากใช้เวลา 12 ปี แล้วเสร็จเมื่อประมาณ 28 ปี ก่อนคริสตกาล และต้อง
พังทลาย เพราะแผ่นดินไหวอีก เมื่อผ่านไป 60 ปี และถูกทอดทิ้งเป็นเวลา 900 ปี จึงถูก
ขายเป็นเศษเหล็ก ให้แก่ชาวเมืองซาราเซน นำไปใช้เพื่อ ประโยชน์ในการสงคราม

ประวัติความเป็นมาของรูปปั้นมหึมานี้
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยปี 312 ก่อนคริสตกาล ชาวเกาะโรดส์ได้ตัดสินใจ
ร่วมรบกับพระเจ้าปโตเลมีแห่งอียิปต์ จากการรุกรานของชาวแมซีโดเนียน
พวกแมซีโดเนียนเข้าล้อมเกาะไว้ด้วยเรือและทหาร มากมาย
แต่ชาวเกาะโรดส์ก็ได้ตีกลับ และเกิดการปะทะกันอยู่เกือบปีจนได้รับชัยชนะ
ในบรรดาผู้ที่ร่วมปกป้องเกาะโรดส์ก็มี ปฏิมากรผู้หนึ่งชื่อว่า ชาเรส
แห่ง ลินดัส ด้วยความยินดีปรีดาของชาวโรดส์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการ หลุดพ้นจากชาว แมซีโดเนียน ชาร์เรส จึงได้รับมอบหมายให้สร้างรูปปั้น
บรอนซ์มหึมาของเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์หรืออพอลโล


 ฮลิออส หรือ อพอลโล เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะของชาวกรีกและโรมันสมัยโบราณ ถือกันว่าสวยที่สุดในจำพวกผู้ชาย รูปปั้นนี้
มีชื่อว่า โคลอสซัส หล่อขึ้นมาจากโลหะต่าง ๆ ที่เหลือจากการสงครามและชาวแมซีเนียนทิ้งไว้ ชาเรสทำงานหนักตลอดเวลา 12 ปี
ทุ่มเทให้กับรูปปั้นนี้ แต่มีเรื่องเล่าว่าพอรูปปั้นนี้เสร็จเขาก็ได้พบว่าคำนวณสัดส่วนผิดไป ชาเรสผิดหวังมากถึงกับปลิดชีพตัวเอง
แต่รูปปั้นโคลอสซัสนี้ก็มีชื่อเสียงมากถึงกับเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก


สุสานมุสโซเลียมแห่งฮาลิคานาสซัส (The Mausoleum of Maussollos at Halicarnassus)



ชื่อสถานที่ : สุสานมุสโซเลียมแห่งฮาลิคานาสซัส  (The  Mausoleum  at Halicarnassus)
สถานที่ตั้ง : เมืองฮาลคาร์นาซซัส ประเทศตุรกี
ปัจจุบัน : ยังมีซากหลงเหลือ

            สุสานมุสโซเลียม  สร้างขึ้นโดยพระนางอาเตมีเชีย  พระมเหสีของกษัตริย์มุสโซลุส (Mausolus) แห่งคาเรีย  เพื่อเป็นที่ฝังพระศพของกษัตริย์มุสโซลุสหลังจากที่พระองค์สวรรคตเมื่อประมาณ  353  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ตั้งอยู่ที่เมืองฮาลิคานาสซัสหรือเมืองซาเรีย   ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน   ตัวสุสานสูงประมาณ  135  ฟุต   ความยาวฐานโดยรอบ  460  ฟุต   สร้างด้วยหินอ่อนล้วน   หลังคาชั้นบนสุดเป็นฐานสี่เหลี่ยมมีรูปแกะสลักของพระเจ้ามุสโซลุสประทับราชรถเทียมม้าอย่างสง่างาม แต่ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13  ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น   ทำให้สุสานพังทลายลงมา   ปัจจุบันจึงคงเหลือแต่ซากปรักหักพังบางส่วนที่พิพิธภัณฑ์แห่งอังกฤษเก็บอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังศึกษากันต่อไป

มหาวิหารอาร์เทมีส (The temple of Artemis at Ephesus)




มหาวิหารอาร์เทมีส : The Temple of Artemis (Diana) 
สถานที่ตั้ง เมืองเอเฟซุส ประเทศตุรกี 
ปัจจุบัน ยังมีซากหลงเหลืออยู่บ้า

 เป็นวิหารสร้างด้วยหินอ่อนเลียบแบบศิลปะแบบกรีกเพื่อถวายเทพเจ้าอาร์เทมีส(เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ของ กรีก) ผู้ช่วยชาวเมืองให้พ้นจากหายนะและภัยพิบัติได้อยู่ในเมืองอีเฟซุสบนชายฝั่งแห่งหนึ่ง
              ปัจจุบันนี้คือประเทศตุรกีในรัชสมัยของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์  จัดเป็นวัดที่สวยงาม แห่งหนึ่งจนกลายเป็นที่รู้จักว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคเก่า วิหารนี้มีเนื้อที่ถึง 54,720 ตารางฟุต ตัวอาคารมีความกว้างถึง 400 ฟุต บริเวณโดยรอบวัดแห่งนี้กิน เนื้อที่เกือบ 2 เอเคอร์ และมีเสาหินตั้งตระหง่านรอบตัวอาคารมากกว่า 100 เสาหิน แต่ละเสาหินมีเส้น ผ่านศุนย์กลาง 6 ฟุต ความสูง 60 ฟุต หลังคาปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐาน เทพเจ้าชื่อว่า อาร์ทิมีส หรืออีกชื่อหนึ่ง ว่าไดอาน่า ประชาชนจะนำสิ่งของมาสักการะบูชา ส่วนมาก เป็นสิ่งของมีค่ามากมายเคยถูกไฟไหม้เสียหายครึ่งหนึ่งแต่ได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ วิหารแห่งนี้ได้ ถูก ทำลายสิ้นก่อนปี ค.ศ. 262 จึงเหลือแต่ซากปรักหักพังเก็บไว้ชมอยู่ในกรุงอิสตันบลู ประเทศตุรกี...

เทวรูปซีอุสที่โอลิมเปีย ((The Statue of Zeus at Olympia)



ชื่อสถานที่ เทวรูปเทพเจ้าซีอุส 
: The Statue of Zeus at Olympia
สถานที่ตั้ง   เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ
ปัจจุบัน ไม่เหลือซาก



        อนุสาวรีย์นี้เป็นรูปสลักเทพเจ้าซีอูส นั่งบนบัลลังก์สีทองที่แกะสลักด้วยงาช้างจำนวนมากมาประกอบกันขึ้น ผู้ที่ปั้นเทวรูปซีอุสนี้ เป็นปฏิมากรเอกชาวกรีก ชื่อ ฟีดีอัส เป็นคนเดียวกับที่สร้างวิหารพาเธนอน ในกรุงเอเธนส์ และสนามกีฬาโอลิมปิค

        เทวรูปซีอุส เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยุคเก่าแก่สิ่งหนึ่งของโลก คือ สร้างขึ้นประมาณ 2,400 ปีก่อน ระหว่งปี ค.ศ. 53 - 111 ตามตำนานที่จารึกไว้ได้ระบุว่าเทวรูปทำจากงาช้างสูง 58 ฟุต มีขนาดใหญ่กว่าคนปรกติถึง 8 เท่า พระหัตถ์ซ้ายทรงคทา พระหัตถ์ขวารองรับ รูปปั้นแห่งชัยชนะ (A small figure of Victory ) มีเครื่องประดับ ประดาด้วยทองคำล้วน 

        ชาวโรมันเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จูปีเตอร์ ชาวกรีกได้เรียกเทวรูปนี้ว่า ซุส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นผู้นำแห่งเทพเจ้า ชาวกรีกนับถื่อมากที่สุดในยุคนั้น ใครจะออกเดินทางไปเมืองใดต้องมาพรจากพระองค์เสียก่อน
        แต่บัดนี้ไม่มีหลักฐานให็เป็นที่ชมได้เพราะได้ถูกไฟเผาไหม้หมดทั้งองค์ในปี ค.ศ. 476 คงเห็นภาพในเหรียญ ตราโบราณ และจากจินตนาการที่ได้มาจากคำบอกเล่า หรือ นิยายปรัมปราเท่านั้น แต่ความงาม ความใหญ่โตศักดิสิทธิ์ ยังคงเป็นที่ยกย่องเล่าลือมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

สวนลอยบาบิโลนที่ประเทศอิรักThe Hanging Gardens of Babylon


สถานที่ตั้ง 
กลางทะเลทราย เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก

      ปัจจุบันทั้งสวนและผนังดังกล่าวทรุดโทรมจนแทบไม่เหลือซากแล้ว ระหว่างในรัชสมัยของพระเจ้านาโบโปลัซซาร์และพระโอรส คือ พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ที่สอง ปกครองบาบิโลนซึ่งได้ขยายแสนยานุภาพออกไปมากมายจนรุ่งเรือง พระเจ้านาโบโปลัซซาร์ทรงโปรดให้ สร้างกำแพงมหึมาล้อมรอบมือง และโอรสก็ทรงดำเนินโครงการต่อ สร้างป้อมปราการและจุดป้องกันต่าง ๆ รอบกำแพง มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยูเฟรตีส


พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ โปรดให้สร้างสวนลอยซึ่งมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วจนกลายเป็น สิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลกสวนลอยนี้ เป็นสวนที่สร้างอยู่เหนือพื้นดินบนพื้นที่กึ่งทะเลทราย พระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์ ทรงสร้างให้พระมเหสีซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งมีดส์ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดี ร่วมกันขับไล่พวกอัสซีเรียออกไปได้ ตามตำนาน พระราชินีเซมีรามิส องค์นี้ทรงอาลัยอาวรณ์ ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาเปอร์เซีย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนและไม่โปรดความราบเรียบของนครบาบิโลน ดังนั้นจึงมีการสร้างสวนลอยขึ้นเป็นภูเขาซึ่งสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์


สวนลอยแห่งนี้สร้างเมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล โดยก่อเป็นเนินสูงซ้อนกันเป็นชั้นสูง ๆ สูงถึง 328 ฟุต หรือ 100 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงแข็งแกร่งหนาถึง 23 ฟุต หรือ 7 เมตร แต่ละชั้น สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และ ปลูกดอกไม้ พืชพันธุ์ต่าง ๆ ไว้จำนวนมาก พันธ์พฤกษ์สารพัดชนิดจากทุกมุมโลก รวมทั้งไม้ดอกและไม้เลื้อย บันไดที่พาขึ้นไปสู่สวน กว้างขวางทำด้วยหินอ่อนข้างใต้บันไดมีซุ่มคอยรับน้ำหนัก ข้างบนเฉลียงของสวนลอยมีถังน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงน้ำพุ น้ำตก และสายน้ำต่าง ๆ บนสวนลอย น้ำจำนวนมากมายนี้ สูบมาจากแม่น้ำยูเฟรติสโดยทาส โดยชักน้ำจากเบื้องล่างขึ้นไปสู้ชั้นสูงสุดแล้วปล่อยให้ ไหลลงมาสู่ชั้นต่าง ๆ เบื้องล่าง


พ่อค้าวาณิชที่เดินทางในทะเลทรายมาสู่เมืองนี้ จะได้เห็นสวนลอยแห่งนี้อยู่สูงเด่นเห็นแต่ไกล จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทิศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฎว่ากรุงบาบิโลน อยู่ในเมืองแบกแดก ของประเทศอิรักปัจจุบัน นับว่าคนสมัยนั้นมัความสามารถทางด้านสถาปัตย์และวิศวกรรมศาสตร์อย่างน่ายกย่อง จึงสามารถรักษาสวนลอยนี้ให้สวยงามเขียวชอุ่มได้ตลอดเวลา หลังจากพระเจ้าเนบูชัดเนซซาร์สิ้นพระชนม์ลงได้ 22 ปี อาณาจักรนี้ก็ตกเป็นของจักรพรรดิไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เชีย สันนิษฐานกันว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนนี้ ยังคงอยู่คู่เมืองจนถึงวศรรตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล 

ปัจจุบันนี้ส่วนที่หลงเหลืออยู่ให้เราได้ชมก็คือบ่อน้ำและโค้งซุ้มประตูหนึ่งหรือสองอัน และนิยาย คำร่ำลือสืบต่อ ๆ กันมา

The Great Pyramid of Giza



The Great Pyramid of Egypt เมืองกิซา ประเทศอียิปต์

ปิรามิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมสำหรับเป็นที่เก็บศพกษัตริย์อียิปต์โบราณ ในอียิปต์มีอยู่ 70 ด้วยกัน แต่ปิรามิด 3 แห่งที่อยู่เมืองกีซ่า คือ หลุมฝังศพของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์(พระเจ้าคูฟู) คีเฟรน และไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่ใหญ่ที่สุดสันนิษฐานว่าปิรามิดนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ 4600 ปีมาแล้ว นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและยังคงตั้งตระหง่านอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ใช้เวลาสร้าง 10 ปี

ปิรามิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามอันแห่งเมืองกีซ่านี้ ที่ใหญ่ที่สุดคือปิรามิดของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์ เรียกว่ามหาปิรามิด

-
ฐานของปิรามิดแห่งนี้มีความกว้างถึง 570,000 ตาราง768 ฟุต บริเวณฐานปิรามิด 4 ด้านนั้น มีความกว้างยาวเท่ากัน คือ 755 ฟุต หรือ 230.12 เมตร จะแตกต่างกันมากน้อยแค่ 8 นิ้ว

-
ตัวมหาปิรามิดนี้สูงประมาณ 432 ฟุตประมาณได้ว่ามีหินก้อนมหึมาถึง 2,300,000 ก้อน หนักกว่า 6,000,000 ตัน แต่ละก้อนหนักถึง 2.5 ตัน บางก้อนหนักถึง 16 ตัน กว้างยาวประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 เมตร

สันนิษฐานว่าผู้สร้างปิรามิดนี้อาศัยดวงดาวเป็นหลัก นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของปิรามิดแล้ว การก่อสร้างให้สำเร็จยัง น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดมาจากภูเขาที่อยูไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อส้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยก วางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต

ใจกลางปิรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของพระเจ้าคีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และปิรามิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง

ปิรามิดแห่งที่สองของกีซ่าเป็นปิรามิดคีเฟรน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาปิรามิด เล็กกว่ามหาปิรามิดเล็กน้อย คือสูง 460 ฟุต ช่วงบนของปิรามิดนี้มีลักษณะเด่นเพราะเป็นหินปูนขาว

ปิรามิดไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่เล็กที่สุดในบรรดาทั้งสามแห่ง สูงแค่ 230 ฟุต นอกเหนือจากปิรามิดทั้งสามแล้วยังมี ตัวสฟิงซ์ซึ่งมีชื่อเสียงมากเช่นกัน โดยแกะสลักหินก้อนใหญ่เป็นรูปสิงโตหมอบอยู่แต่หน้าเป็นมนุษย์ใบหน้านี้เป็นใบหน้าของพระเจ้าคีเฟรน ซึ่งมีคนนับถือเป็นพระเจ้าแห่งพระอาทิตย์ รูปสฟิงซ์นี้สูงถึง 66 ฟุต ยาว 240 ฟุต หมอบเฝ้าปากทางที่พามุ่งตรงไปยังปิรามิดแห่งคีเฟรน

สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย (คาตาโคมป์) เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์



3.สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย (คาตาโคมป์)
สถานที่ตั้ง เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ 
ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย เป็นอุโมงค์ที่เก็บศพ และทรัพย์สมบัติของกษัตริย์อียิปต์โบราณ อุโมงค์ฝังศพนี้ มีชื่อเรียกว่า คาตาโคมบ์ (Catacombs) เป็นอุโมงค์ที่สร้างด้วย หินก้อนใหญ่ ๆ และ ขุดลึกลงไปเป็นชั้นๆ บางตอนลึกถึง 21 ถึง 24 เมตร (70-80 ฟุต) มีทางเดินกว้างถึง 1.2 เมตร (3-4 ฟุต) วกไปเวียนมา เป็นระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร ตามริมผนังของอุโมงค์เป็นช่อง ๆ ไว้ สำหรับเป็นที่ บรรจุศพ มีแท่นบูชาอยู่หน้าช่องบรรจุศพเหล่านั้น พร้อมตะเกียงดวงเล็กๆ แขวนไว้ บางส่วนของอุโมงค์ตกแต่งทั่ว ๆ ไปไว้อย่างวิจิตรงดงาม ปัจจุบันยังคงมีสภาพสมบูรณ์

หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี (Leaning Tower of Pisa)



กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้
ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา
ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย
นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย*

สโตนเฮนจ์ เมือง ซัลลิสเบอรี่ ประเทศอังกฤษ ( Stonehenge)


ชื่อสถานที่ กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์
: Stonehenge
สถานที่ตั้ง   เมืองซัลลิสเบอรี่ มณฑลวิลไซร์ ประเทศอังกฤษ
ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้



        กองหินประหลาดนี้อยู่กลางทุ่งนาแห่งเมืองซัลลิสเบอรี ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 10 ไมล์ ประกอบด้วยแนวหินขนาดมหึมาหินเรียงรายราว ๆ 3 กิโลเมตร และ มีกลุ่มหินใหญ่ประมาณ 112 ก้อน ตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางทุ่งนา เป็นรูปวงกลมซ้อนกันอยู่ 3 วง บางก้อนล้มนอน บางก้อนตั้งตรง บางก้อนวางซ้อนทับอยู่บนยอดก้อนหินที่ตั้งอยู่สองก้อน 

      วงกลมรอบนอก มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 100 ฟุต มีหินทั้งหมด 30 ก้อน แต่ละก้อนสูง 13 ฟุต 

      วงกลมรอบกลาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 76 ฟุต มีหินทั้งหมด 40 ก้อน มีสองก้อนตั้งสูงถึง 22 ฟุต 

      วงในสุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 50 ฟุต มีหินทั้งหมด 42 ก้อน ล้มบ้างตั้งสูงบ้าง หินแต่ละก้อนหนักเป็นตันๆ เฉลี่ยแล้วสูง 4 เมตร หนัก 26 ตัน 

        มีผู้สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ในที่นั้นมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลถึง 1,700 ปี เป็นสิ่งก่อสร้างที่โดยไม่มีร่องรอยของความเป็นมา ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง, สร้างเพื่อวัตถุประสงค์อะไร? ที่น่าแปลกก็คือ ในริเวณนั้นเป็นทุ่งกว้าง ไม่มีภูเขาและสิ่งก่อสร้างด้วยก้อนหินอื่น ๆ อีกเลย จึงทำให้สงสัยว่าผู้ก่อสร้างนำหินเหล่านั้นมาจากไหน และไม่ปรากฏว่ามีการขน หรือสิ่งปรักหักพังในการก่อสร้าง บริเวณที่ดังกล่าว ใช้อะไรยกหินก้อน ที่หนัก ๆ หลาย ๆ ตันขึ้นวางซ้อนกันได้ ซึ่งอยู่สูงถึง 13 ฟุต นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่ท้าทายความอยากรู้ของมนุษย์ยุคปัจจุบันยิ่งนั

เจดีย์กระเบื้องเคลือบเมืองนานกิง ประเทศจีน (Porcelian Tower of Nanking)



เจดีย์กระเบื้องเคลือบ 
          ตั้งอยู่ที่วัดต้าเป้าเอินในเมืองนานกิงซึ่งเป็น เมืองเอกของมณฑลเจียงซู ทางภาคตะวันออกของจีน เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ล้ำค่าแห่งหนึ่งของจีน เป็นสิ่งก่อสร้างเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม สูง 9 ชั้น สูง 261 ฟุต หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีกระดิ่งแขวนไว้ 80 ลูก และโคมไฟประดับอีกหลายร้อยผูกแขวนไว้ตามชายคา เวลาลมพัดมีเสียงดังไพเราะมาก กล่าวกันว่าบนยอดเจดีย์มีลูกบอลทำด้วยทองติดอยู่มีเหล็กวงแหวนล้อมรอบถึง 9 วง มีไข่มุกขนาดใหญ่ 5 เม็ดอยู่ที่ปลายเป็นเครื่องรางบอกความมีโชคชัยของกรุงนานกิง เป็นความมหัศจรรย์ของเจดีย์ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหมด เดิมทีพุทธศาสนิกชนชาวจีนเป็นผู้สร้างไว้เพียง 3 ชั้น ต่อมาในสมัยของจักรพรรดิยุ่งโล้แห่งราชวงค์เหม็งประมาณ พ.ศ. 1973 ได้โปรดให้สร้างเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 9 ชั้น มีโซ่โยงลงมาจากชายคาตรงแนวที่เป็นเหลี่ยมขององค์เจดีย์ 8 เส้น โดยแขวนกระดิ่งตามสายโซ่รวม 72 ลูก ปัจจุบันองค์เจดีย์อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก เนื่องจากเหตุการณ์เกิดกบฎไท้เผ็งได้ถูกเผาทำลายเมื่อ พ.ศ. 2392 นอกจากขนาดใหญ่โตสูงเสียดฟ้าแล้ว สิ่งที่สำคัญอยู่ที่วัสดุกระเบื้องเคลือบที่ใช้นั่นเอง ปัจจุบันอาจไม่งดงามเท่ากับสมัยก่อนแต่ยังตั้งตระหง่านและคงความวิจิตรเอาไว้ได้ตามสมควร

สุเหร่าเซนต์โซเฟีย เมืองคอนสแตนดิโนเปิล ประเทศตุรกี (Mosque of Hagia Sophia (Istanbul)



ชื่อสถานที่       สุเหร่าเซนต์โซเฟีย
: Mosque of Hagia Sophia (Istanbul)
สถานที่ตั้ง        เมืองคอนสแตนดิโนเปิล ประเทศตุรกี
ปัจจุบัน            สามารถเข้าเยี่ยมชมได้

สุเหร่าเซนต์โซเฟีย(Saint Sophia) หรือ โบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ปัจจุบันเป็นที่ประชุมสวดมนต์ของชาวมุสลิม ในอดีตเป็นโบสถ์ทางศาสนาคริสต์ พระเจ้าจักรพรรดิ์คอนสแตนตินเป็นผู้สร้างเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่13 ใช้เวลาสร้าง 17 ปี เพื่อเป็นโบสถ์ของศาสนาคริสต์ แต่ถูกผู้ก่อการร้ายบุกทำลายเผาเสียวอดวายหลายครั้งเพราะเกิดการขัดแย้งระหว่าง พวกที่นับถือศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม

        จนถึงสมัยพระเจ้าจัสตินเนียน มีอำนาจเหนือตุรกี จึงได้สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟียขึ้นใหม่ ใช้เวลาสร้างฐานโบสถ์ 20 ปี ตัวโบสถ์ 5 ปี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ 1435) พระองค์ต้องการให้เป็นสิ่งสวยงามที่สุดได้พยายามหา สิ่งของมีค่าต่างๆ มาประดับไว้มากมาย สร้างเสร็จได้มีการเฉลิมฉลองกันอย่าง มโหฬาร ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวอย่างใหญ่ทำให้แตกร้าวต้องให้ช่างซ่อมจนเรียบร้อยในสภาพเดิม
        เมื่อสิ้นสมัยของจักรพรรดิจัสตินเนียน ถึงสมัยพระเจ้าโมฮัมเม็ดที่ 2 มีอำนาจเหนือตุรกี และเป็นผู้นับถือศาสนา อิสลามได้ดัดแปลงโบสถ์หลังนี้ให้เป็นสุเหร่าอิสลาม แต่ยังคงความงามไว้เช่นเดิม

        สุเหร่าเซนต์โซเฟีย มีเนื้อที่ 700 ตารางเมตร ภายในมีเสางามค้ำที่สลักอย่างวิจิตร และ ประดับไว้งดงาม 108 ต้น (ชั้นบนขนาดเล็ก 68 ต้น ชั้นล่างขนาดใหญ่ 40 ต้น) มียอดเป็นโดม คล้ายซาลาเปา มีหอมินาเรสท์เป็นยอดแหลม ๆ มากมาย เนื่องจากศิลปะแบบคริสเตียน ผสมกับอิสลามนี้เองทำให้มีความสวยงามอันน่ามหัศจรรย์ 

ทัชมาฮาล ในเมืองอักรา ประเทศอินเดีย (The Taj Mahal, India)


              

        ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิโมกุลผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับอรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรสาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
              
      หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ จนพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
ขนาด
           ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
ทัชมาฮาลได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ
(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด

สนามกีฬาโคลอสเซียมในกรุงโรมของอิตาลี



โคลอสเซียม  เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน ใต้อัฒจรรย์มีห้องใต้ดินที่สร้างขึ้นเพื่อขังสิงโตและนักโทษประหาร   ก่อนปล่อยให้ออกมาต่อสู้กันกลางสนาม  มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)  นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประลองฝีมือของเหล่าอัศวินในยุคนั้น   ปัจจุบันยังคงเหลือโครงสร้างเกือบสมบูรณ์ตั้งเด่นเป็นโบราณสถานที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั่วโลก

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ



เมืองโบราณเพตรา ในจอร์แดน (Petra, Jordan)


นครเปตรา (จากภาษากรีก πέτρα แปลว่าหิน ภาษาอารบิก البتراء) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (one of the most precious cultural properties of man's cultural heritage)  ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ

ก่อตั้งและเจริญรุ่งเรือง
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว
เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย


วิหารใหญ่ในเมืองเปตรา
เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก 

ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
การล่มสลาย
ด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลาต่อมา เปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส(Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน
การค้นพบ
ถึงแม้ซากเมืองเปตราจะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่นมีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตรา แต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่น บวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆ คร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde)ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de l'Arabie Pétrée" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆ ที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้ 
การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่

มรดกโลก
เปตราได้รับลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
§  (i) - เป็นตัวแทนที่แสดงถึงผลงานชิ้นเอกทีได้ถูกจัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันแสนฉลาด
§  (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
§  (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ